อุดฟันเชียงใหม่
การอุดฟันคืออะไร
ปัจจุบันนี้ ผู้คนมากมายมีปัญหาเกี่ยวกับฟันผุแล้วไม่ได้รักษาจนเกิดความเจ็บป่วยหรือสูญเสียฟันก่อนวัยอันสมควร ดังนั้นเมื่อเกิดฟันผุขึ้นมาแล้วการรักษาที่ป้องกันฟันผุเพิ่ม อย่างเช่น “การอุดฟัน”ก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อทำการรักษาแล้วก็ต้องใส่ใจดูแลช่องปากให้ถูกวิธีร่วมด้วยจึงจะเป็นการป้องกันที่ยั่งยืน ทำให้เรามีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรงต่อไปในอนาคตได้ เมื่อพบฟันผุขนาดเล็ก ยังไม่มีอาการปวด ให้รีบมาอุดฟัน หากปล่อยไว้จนผุ ใหญ่จนทะลุโพรงประสาทฟัน จนเสียวหรือปวดฟันอาจอุดไม่ได้ แล้วต้องถอนหรือรักษารากฟัน ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักหมื่น
การอุดฟัน คือ การใช้วัสดุอุดรูหรือโพรงที่เกิดจากฟันผุ เพื่อปิดช่องทางไม่ให้แบคทีเรียหรือเศษอาหารตกเข้าไปจนเกิดความเสียหายแก่เนื้อฟันเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
วัสดุที่นำมาใช้อุดฟัน ได้แก่
- อมัลกัม (Amalgam) เป็นวัสดุที่นิยมนำใช้มากที่สุดและใช้ง่ายที่สุด เพราะรวดเร็วและราคาไม่แพง (เป็นการผสมกันระหว่างปรอท เงิน ดีบุกหรือโลหะอื่นๆ) อยู่ได้ประมาณ 10-15 ปี ทนทานแต่จะไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณฟันหน้า
- คอมโพสิตเรซิ่น (Composite Resin) เป็นวัสดุที่มีสีเหมือนสีฟัน เหมาะกับผู้ที่ฟันผุบริเวณฟันหน้า ให้ความสวยงามและแข็งแรงทนทาน
- กลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer) มักใช้อุดฟันเด็กเล็กหรือผู้มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เพราะสามารถปล่อยฟลูออไรด์ได้
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเงิน (Amalgam Filling) เป็นการอุดฟันแบบเดิม ใช้อุดเฉพาะฟันกราม ให้ความแข็งแรง แต่ไม่สวย
การอุดฟันด้วยสารสีขาว (Resin Composite Filling) เป็นวัสดุสีเหมือนฟัน สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม สีสวยงาม แต่วัสดุจะแข็งแรงน้อยกว่าวัสดุสีเงิน
วิธีการอุดฟันด้วยสารสีขาวนี้จะคล้ายกับการอุดฟันแบบทั่วไป แต่จะต่างกันที่วัสดุที่ใช้และขั้นตอนในการฉายแสงเท่านั้น โดยทันตแพทย์จะเริ่มกรอเนื้อฟันที่ผุออก หากฟันผุเข้าไปจนถึงชั้นในของเนื้อฟัน จะทำการใส่วัสดุรองพื้นก่อนเพื่อช่วยลดอาการเสียวฟัน หลังจากนั้นจะใส่วัสดุสีเหมือนฟันเข้าไป สลับกับการฉายแสงให้วัสดุแข็งตัว พออุดฟันด้วยสารสีขาวได้เต็มพื้นที่แล้ว จึงทำการกรอตกแต่งวัสดุอุด เพื่อตกแต่งฟันให้สวยงามอีกครั้ง
การอุดฟันชนิดใดดีที่สุด
ไม่มีการอุดฟันชนิดใดที่เหมาะกับทุกคน สิ่งที่เหมาะกับคุณขึ้นอยู่กับขอบเขตของการผุ การแพ้วัสดุยางชนิดของแต่ละคน บริเวณที่ต้องการการอุดฟัน และราคา ซึ่งวัสดุในการอุดฟันมีหลายประเภทคือ
- การอุดฟันด้วยทอง ซึ่งจะทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดยอินเลย์ทองจะไม่ค่อยระคายเคืองเหงือก และอาจอยู่ได้นานถึง 20 ปีและด้วยเหตุนี้เอง หลายๆ คนจึงเลือกทองให้เป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การอุดฟันชนิดนี้มีราคาแพงที่สุด และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง
- การอุดฟันด้วยอมัลกัม (เงิน) เป็นการอุดฟันที่ค่อนข้างคนทนและราคาไม่แพง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุนี้มีสีเข้ม จึงมองเห็นได้เด่นชัดกว่าพอซเลนหรือคอมโพสิต และไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่นฟันหน้า
- การอุดฟันคอมโพสิต (พลาสติก) เรซิน เป็นวัสดุที่ใช้สีที่เหมือนกับฟันของคุณ จึงมักถูกเลือกใช้สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ ส่วนผสมจะมีการเตรียมและใส่ลงในจุดที่ผุโดยตรง ซึ่งวัสดุคอมโพสิตนี้อาจจะไม่สามารถใช้อุดฟันในบริเวณกว้างได้ เนื่องจากมีการหักอละเสื่อมได้เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ยังเป็นคราบจากชา กาแฟ หรือยาสูบได้ และไม่คงทนเท่ากับวัสดอื่นๆ โดยสามารถอยู่ได้ประมาณ 10 ปี
- การอุดฟันเวยด้วยพอซเลน หรือเรียกว่า อินเลย์ หรือ ออนเลย์ ทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการและนำมาเชื่อมต่อกับฟัน สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันของคุณได้ และมีความทนทานต่อคราบ การอุดฟันด้วยพอซเลนมักจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่ ราคาประมาณเดียวกับการอุดฟันด้วยทอง
กระบวนการการอุดฟันเป็นอย่างไร
ถ้าคุณต้องรับการอุดฟัน ทันตแพทย์จะทำการกำจัดส่วนที่ผุออกก่อน จากนั้นจึงทำความสะอาด และเติมวัสดุอุดฟันตามที่อธิบายข้างต้นลงไป
เราจะทราบได้อย่างไรว่าต้องการการอุดฟัน
มีเพียงทันตแพทย์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่าคุณต้องการการอุดฟัน ในระหว่างการตรวจ ทันตแพทย์จะใช้กระจกเล็กเพื่อตรวจสอบพื้นผิวของฟันแต่ละซี่
อะไรก็ตามที่ดูผิดปกติจะถูกทำการตรวจอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือพิเศษ ทันตแพทย์อาจทำการเอ็กซเรย์ทั้งช่องปากหรือเพียงบางส่วน การรักษาขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายจากฟันผุ
การดูแลสุขภาพช่องปาก
นอกจากต้องมาพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 3-6 เดือนเพื่อทำการขูดหินปูนแล้ว ควรมาตรวจว่ามีปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นใหม่หรือไม่ สังเกตพฤติกรรมการทำความสะอาดและดูแลสภาพช่องปาก มีฟันผุเพิ่มขึ้นไหม เพื่อทำการรักษาได้ทันก่อนรอยโรคลุกลามถึงขั้นรุนแรง เพราะปัญหาดังกล่าวอาจเรื้อรัง รุนแรงหากไม่ได้มาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เช่น จากการมีฟันผุธรรมดาที่สามารถอุดได้ในช่วงแรก ถ้าละเลยการตรวจฟันรอยผุซี่นั้นอาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้ไม่สามารถอุดฟันเพียงอย่างเดียว ต้องทำการรักษารากและครอบฟันซึ่งเป็นการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
ขั้นตอนการดูแลสุขภาพฟัน
- ควรแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละสองครั้ง ต่อวัน (ดีที่สุด คือ หลังมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น)
- ใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดซอกฟัน เนื่องจากมีบางตำแหน่งที่แปรงไม่สามารถทำความสะอาดลงไปถึงได้
- ใชช้อุปกรณ์เสริมเพิ่มในบางกรณี เช่น แปรงซอกฟัน
- ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
- หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่รับประทาน ได้แก่ อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้เกิดรอยโรคฟันผุ
- อาหารรสเปรี้ยว อาจทำให้ฟันกร่อน สึก เกิดอาการเสียวฟันได้
การเตรียมตัวก่อนอุดฟัน
- อันดับแรกคือการตรวจสุขภาพเหงือกและฟันก่อน ซึ่งฟันซี่ที่จะอุดได้ต้องเป็นฟันผุที่ไม่ลามไปจนถึงโพรงประสาทฟันและต้องมีเนื้อฟันเหลือพอให้วัสดุที่ใช้อุดฟันยึดเกาะได้
- หากมีโรคประจำตัวและกำลังรับประทานยาประจำอยู่ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่และทันตแพทย์ทราบด้วย
- หากมีฟันปลอมแบบถอดได้หรือรีเทนเนอร์ ต้องนำมาด้วย
การดูแลตัวเองหลังอุดฟัน
- ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันให้ถูกวิธี
- ใช้น้ำยาบ้วนปากต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละครั้งภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์
- ฟันที่ผ่านการอุด ไม่ว่าด้วยวัสดุอะไร ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งเกินปติ เช่น ก้อนน้ำแข็งถั่วตัด กระดูกอ่อน เพราะอาจทำให้วัสดุแตกหรือหลุดได้
อุดฟันเชียงใหม่
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
อุดฟันเชียงใหม่
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
อุดฟันเชียงใหม่
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
อุดฟันเชียงใหม่
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
อุดฟันเชียงใหม่
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล