9ก.ย.

ความเจ็บปวดที่เกิดจากฟันมักจะทรมานมาก ทำให้กินอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ เช่น มีปัญหาประสาทฟันอักเสบ และหลายคนก็กลัวที่จะไปพบทันตแพทย์ เพราะกลัวถูกถอนฟันและต้องใส่ฟันปลอมไปตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันนี้วิวัฒนาการทางแพทย์ในการรักษาฟันได้ก้าวหน้าไปมาก เราสามารถรักษาประสาทฟันอักเสบได้ด้วยการรักษารากฟัน โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันหากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แถมยังทำให้ฟันกลับมาใช้งานได้ดีดังเดิมด้วย 

การรักษารากฟันคืออะไร?

การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือ การกำจัดเนื้อฟัน เส้นประสาท และเส้นเลือดภายในซี่ฟันที่เกิดการติดเชื้อออก จากนั้นก็ให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ แล้วอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ

ลักษณะของฟันที่ต้องรักษารากฟัน

  • ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน
  • ฟันที่มีการเปลี่ยนสีไปจากเดิมที่เกิดจากฟันตาย
  • ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ฟันหัก, ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน
  • กรณีแก้ไขแนวฟันที่ทำร่วมกับการครอบฟัน

การรักษารากฟัน

  1. ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชา จากนั้นใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันอื่น
  2. หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเอาฟันผุโดยเอาส่วนที่เสียหายออกกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกจนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน
  3. ทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลงไปในคลองรากฟัน
  4. ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

ในการรักษารากฟันนั้น คนไข้บางคนก็ไม่ได้รักษาครั้งเดียวจบ บางคนต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาด รวมถึงเปลี่ยนยาในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าการติดเชื้อ หรือการอักเสบจะหายเป็นปกติ เมื่อพบว่าไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์ก็จะอุดปิดคลองรากฟัน และใส่เดือยฟัน เพื่อเป็นแกนเสริมสร้างความแข็งแรง เพื่อการทำครอบฟันซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้อาจต้องขึ้นกับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่มาร่วมพิจารณา

ข้อดีของการรักษารากฟัน

  1. สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้อย่างน้อย 5 – 10 ปี โดยไม่ต้องถอนฟัน
  2. อาการปวดหรือบวมน้อยกว่าการถอนฟัน
  3. สามารถรักษารูปร่างสันเหงือกไว้ได้

ข้อเสียของการรักษารากฟัน

  1. หลังการรักษาอาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง
  2. อาจพบอาการติดเชื้อหลังรักษาได้ หากติดเชื้อรุนแรงขึ้นมาต้องถอนฟันออก
  3. กรณีรักษาฟันที่อยู่บริเวณฟันกรามน้อยบน หรือฟันกรามบน อาจพบทะลุโพรงอากาศแม็กซิลลาได้
  4. ในบางกรณีอาจมีโอกาสที่น้ำยาเคมีที่ใช้รักษาคลองรากฟันไหลลงสู่ปลายราก เข้าทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง จนเกิดอาการบวมได้ ซึ่งโอกาสที่พบมีน้อยมาก

การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน

  1. ภายหลังการรักษาควรรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อนถึงจะกินอาหารได้ เพื่อป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มตัวเอง 
  2. ระมัดระวังการใช้งานซี่ฟันที่รักษาราก ไม่ใช้บดเคี้ยวอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะปริมาณเนื้อฟันเหลือน้อยลงและฟันเปราะบางขึ้น ฟันจะเปราะแตกง่าย
  3. ควรทานอาหารอ่อนๆภายหลัง 1 – 2 วันหลังการรักษา
  4. ดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ
  5. ทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
  6. หากอาการปวดหรือบวมไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน ควรไปพบทันตแพทย์ทันที
  7. เข้าพบทันตแพทย์ปีละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อประเมินความเรียบร้อยของช่องปากตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ
  8. หากทำการรักษาครั้งใหม่ หรือใช้บริการคลินิกทันตกรรมอื่นๆ ภายในช่องปาก เช่น ฟอกสีฟัน ควรแจ้งกับทันตแพทย์ทุกครั้งว่ามีวัสดุอุดฟันตำแหน่งใดบ้าง

CDC Dental Clinic

คลินิกทำฟัน จัดฟัน เชียงใหม่ ดูแลเรื่องฟัน ทันตกรรมครบวงจร โดยทีมทันตแพทย์มากประสบการณ์

ชั้น 2 โครงการมีโชคพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00-19.30 น.
Tel. 053-230136, 061-316-2992

ติดต่อ

Tel. 053-230136

CDC Dental Clinic

CDC Dental Clinic

CDC Dental Clinic

Copyright 2022 © คลินิกทำฟันเชียงใหม่ cdcdentalclinic

Scroll to top