ฟันน้ำนมที่ขึ้นมาซี่แรก ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของลูกน้อยของเรา พ่อแม่หลายๆ คนคงคิดว่าฟันน้ำน้ำนมเดี่๋ยวพอโตขึ้นก็ต้องหลุดออกไป เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ทำให้ขาดความใส่ใจ และปล่อยปะละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อย เพราะคิดว่าเอาไว้ว่าเดี๋ยวฟันแท้ขึ้นค่อยพาไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก แต่ไม่จริงเลย ฟันน้ำนมควรถูกดูแลให้ดีตั้งแต่ซี่แรกที่ขึ้นมา เพราะมีส่วนช่วยในการออกเสียงที่ชัดเจนของลูกน้อย และทำให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ถูกตำแหน่งด้วย ถ้าฟันน้ำนมหลุดออกไปก่อน อาจทำให้เกิดปัญหาฟันซ้อนหรือฟันเกตามมาได้
เมื่อฟันน้ำนมขึ้นควรเริ่มดูแลอย่างไร
การดูแลฟันน้ำนมและการดูแลช่องปากสำหรับเด็กสามารถเริ่มขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้
- เด็กแรกเกิด สามารถเริ่มดูแลช่องปากได้ด้วยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุก รอให้เย็น เช็ดบริเวณสันเหงือและลิ้น ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาว เพราะอาจเป็นจุดสะสมแบคทีเรียได้
- หลังจากฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์แตะพอชื้นหรือขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร หลังแปรงฟันเสร็จนำผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดฟองที่เหลือออก
- อายุ 3 – 6 ปี ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์แตะพอชื้นหรือขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด หลังแปรงฟันเสร็จนำผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดฟองที่เหลือออก
- อายุ 6 ปี ขึ้นไป ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ขนาดเหมาะสมพอดีกับช่องปาก ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ หลังแปรงฟันเสร็จให้บ้วนน้ำเล็กน้อย
เด็กควรเลือกใช้ยาสีฟันแบบไหน
เลือกยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ใช้ร่วมกับไหมขัดฟัน แต่ถ้าพบทันตแพทย์แล้วมีความเสี่ยงที่ฟันจะผุ อาจจะต้องใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์หรือฟลูออไรด์ชนิดเม็ด ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
ควรเริ่มพาลูกไปหาทันตแพทย์ตอนอายุเท่าไหร่
ควรเริ่มพาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือตอนที่มีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นา เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสอบช่องปาก และรับฟังคำแนะนำในการแปรงฟัน การทำความสะอาดในช่องปาก และพฤติกรรมที่จะช่วยป้องกันฟันผุ
ข้อควรรู้ก่อนพาลูกไปพบทันตแพทย์
- พยายามสร้างประสบการณ์ที่ดีในการไปพบทันตแพทยื เพื่อสร้างภาพจำที่ดีให้ลูก เช่น การให้ลูกเล่นเป็นหมอฟันแล้วเราเป็นคนไข้ เพื่อให้เขาสร้างภาพให้หัว ในทางที่ดี
- พาลูกไปด้วยเมื่อเราต้องไปพบทันตแพทย์ที่คลินิก เพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นชินกับสถานที่
- ควรให้ลูกงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนในระหว่างการตรวจช่องปาก
จากคำแนะนำทั้งหมด การดูแลฟันน้ำนมตั้งแต่ซี่แรกของลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยเพราะถ้าปล่อยปะละเลยไป อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เพราะถึงฟันน้ำนมจะขึ้นมาระหว่างรอฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ พ่อๆแม่ๆ ก็ควรทีเรียนรู้วิธีการดูแลตั้งแต่ฟันซี่แรกของลูกน้อย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับฟันของลูกในอนาคต